หมวดที่ 1
บทความทั่วไป
ข้อ 1. ชื่อของสมาคมการค้า สมาคมการค้านี้มีชื่อว่า “สมาคมเทคโนโลยีดิจิทัลไทย” เขียนชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “Thai Digital Technology Association” เรียกชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “Thai Digital Technology Association” คำว่า “สมาคม” ต่อไปในข้อบังคับนี้ให้หมายความถึง “สมาคมเทคโนโลยีดิจิทัลไทย”
ข้อ 2. สำนักงานของสมาคม ตั้งอยู่ ณ 60/1 อาคารมนริริน ห้อง A202 ชั้น 2 ซอยพหลโยธิน 8 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
ข้อ 3. ตราของสมาคม มีเครื่องหมายเป็นรูปดังนี้
หมวดที่ 2
วัตถุประสงค์
ข้อ 4. สมาคมนี้มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
หมวดที่ 3
สมาชิกและสมาชิกภาพ
ข้อ 5. ประเภทสมาชิก สมาชิกของสมาคมการค้าแบ่งออกเป็นสามประเภท และมีคุณสมบัติดังนี้
ข้อ 6. คุณสมบัติของสมาชิก สมาชิกของสมาคมการค้านอกจากคุณสมบัติตามข้อ 5 แล้วยังต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
ให้นำความในข้อ 6 (1) มาใช้บังคับแก่คุณสมบัติของผู้แทนที่ได้รับแต่งตั้งให้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลที่เป็นสมาชิกตามข้อ 10 ด้วย
ข้อ 7. การสมัครเข้าเป็นสมาชิก ผู้ที่ประสงค์จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกสามัญของสมาคมจะต้องยื่นความจำนงต่อเลขาธิการ หรือกรรมการผู้ทำหน้าที่แทนเลขาธิการตามแบบพิมพ์ที่สมาคมได้กำหนดไว้ โดยมีสมาชิกสามัญเป็นผู้รับรองอย่างน้อยสองคน
ข้อ 8. การพิจารณาคำขอสมัครเข้าเป็นสมาชิก ให้เลขาธิการหรือกรรมการผู้ทำหน้าที่แทนเลขาธิการนำใบสมัครเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการในคราวต่อไป ครั้งแรกหลังจากที่ได้รับใบสมัครเมื่อคณะกรรมการมีมติให้รับหรือไม่รับผู้ใดเข้าเป็นสมาชิก ให้เลขาธิการมีหนังสือแจ้งให้ผู้นั้นทราบภายในเจ็ดวัน นับแต่วันลงมติ
ข้อ 9. วันเริ่มสมาชิกภาพ สมาชิกภาพเริ่มตั้งแต่วันที่ผู้สมัคร ได้ผ่านการอนุมัติตามข้อ 8. และได้ชำระค่าลงทะเบียนเข้าเป็นสมาชิกและค่าบำรุงประจำปีของสมาคมเรียบร้อยแล้ว
ข้อ 10. สมาชิกที่เป็นนิติบุคคล ต้องแต่งตั้งผู้แทนหรือตัวแทน ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาที่มีอำนาจกระทำกิจการแทนนิติบุคคลนั้นได้ไม่เกินสองคน เพื่อปฎิบัติการในหน้าที่และใช้สิทธิแทนนิติบุคคลนั้นได้เพียงเท่าที่สมาชิกสามัญรายหนึ่งจะพึงมี ในการนี้ผู้แทนหรือตัวแทนจะมอบหมายให้บุคคลอื่นกระทำแทนหรือแต่งตั้งตัวแทนช่วงมิได้
บุคคลธรรมดาคนหนึ่งจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนหรือตัวแทนที่มีอำนาจกระทำการแทนสมาชิกสามัญที่เป็นนิติบุคคลไม่เกินหนึ่งราย
ข้อ 11. การขาดจากสมาชิกภาพ สมาชิกภาพย่อมสิ้นสุดลงในกรณีดังต่อไปนี้
ข้อ 12. ทะเบียนสมาชิก ให้นายทะเบียนจัดทำทะเบียนสมาชิกเก็บไว้ ณ สำนักงานของสมาคมโดยอย่างน้อยให้มีรายการดังต่อไปนี้
หมวดที่ 4
สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก
ข้อ 13. สิทธิของสมาชิก
ข้อ 14. หน้าที่ของสมาชิก
หมวดที่ 5
ค่าลงทะเบียนเข้าเป็นสมาชิก
และค่าบำรุงสมาคม
ข้อ 15. ค่าลงทะเบียนเข้าเป็นสมาชิกและค่าบำรุงสมาคม
ข้อ 16. ค่าบำรุงพิเศษ สมาคมอาจเรียกเก็บค่าบำรุงพิเศษจำนวนเท่าใดจากสมาชิกได้เป็นครั้งคราว โดยที่ประชุมใหญ่ลงมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกสามัญที่มาประชุมทั้งหมด
ข้อ 16.1 ค่าบำรุงประจำปี สมาคมฯ จะเรียกเก็บค่าบำรุงประจำปีเป็นจำนวนเท่าใด ให้ที่ประชุมใหญ่ลงมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกสามัญที่มาประชุมทั้งหมดเป็นครั้งคราว
หมวดที่6
คณะกรรมการของสมาคม
ข้อ 17. ให้มีคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเป็นผู้บริหารงาน ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ประสงค์ของสมาคม และเป็นผู้แทนของสมาคมในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอกประกอบด้วยสมาชิกสามัญซึ่งได้รับเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่มีจำนวนไม่น้อยกว่าเจ็ดคนและไม่เกินสามสิบคน
เว้นแต่ที่ประชุมใหญ่ครั้งนั้น ๆ จะมีมติเป็นอย่างอื่น การเลือกตั้งกรรมการให้กระทำด้วยวิธีลงคะแนนลับ โดยให้สมาชิกสามัญเสนอชื่อของสมาชิกสามัญซึ่งตนประสงค์จะให้เข้าสมัครรับเลือกตั้งเป็นกรรมการต่อที่ประชุมใหญ่โดยมีสมาชิกสามัญอื่นรับรองไม่น้อยกว่าสองคนแล้วให้ที่ประชุมใหญ่ลงมติเลือกตั้ง ให้ผู้ได้รับคะแนนสูงตามลำดับได้เป็นกรรมการตามจำนวนที่กำหนดไว้ในวรรคแรกตามมติที่ประชุมใหญ่ครั้งนั้น ๆ ถ้ามีผู้ใดได้คะแนนเท่ากันในลำดับสุดท้ายที่จะได้เป็นกรรมการคราวนั้น ให้ที่ประชุมลงมติใหม่เฉพาะผู้ที่ได้คะแนนเท่ากัน หากปรากฏว่าได้คะแนนเท่ากันอีกให้ใช้วิธีจับฉลาก
ให้คณะกรรมการเลือกตั้งกันเองเพื่อดำรงตำแหน่งนายกสมาคมหนึ่งคน อุปนายกไม่เกินเจ็ดคน เลขาธิการ เหรัญญิก นายทะเบียน ประชาสัมพันธ์ตำแหน่งละหนึ่งคน และตำแหน่งอื่น ๆ ตามความเหมาะสมด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการที่จะได้กำหนดหน้าที่ที่เห็นสมควร
คณะกรรมการของสมาคม อยู่ในตำแหน่งกรรมการได้คราวละสองปี การนับวาระกรรมการให้เริ่มนับแต่วันที่ประชุมใหญ่มีมติเลือกตั้ง
ภายใต้บังคับของมาตรา 19 และ 33 แห่งพระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. 2509 กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งกรรมการไปแล้ว อาจได้รับการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งให้เป็นกรรมการอีกก็ได้
ข้อ 18. การพ้นจากตำแหน่งกรรมการ กรรมการยอมพ้นจากตำแหน่งในกรณีดังต่อไปนี้
ในกรณีที่ผู้แทนสมาชิกซึ่งเป็นนิติบุคคลตามข้อ 10 ที่ได้รับการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งตายหรือพ้นจากตำแหน่งผู้แทนของสมาชิกนั้น ผู้แทนคนที่ 2 ของสมาชิกรายนั้น ๆ จะเข้าเป็นกรรมการแทนได้โดยให้เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการแต่งตั้ง
ข้อ 19. กรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งกรรมการก่อนครบกำหนดออกตามวาระ
คณะกรรมการอาจตั้งสมาชิกสามัญคนใดคนหนึ่งให้เป็นกรรมการแทนได้ แต่กรรมการที่ได้รับแต่งตั้งแทนนี้ให้เป็นกรรมการอยู่ได้ตามวาระของผู้ที่ตนแทน
กรณีคณะกรรมการพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะก่อนครบกำหนดออกตามวาระ ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งนั้นดำเนินการจัดประชุมใหญ่สมาชิกเพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ ในกรณีนี้ให้นำความในข้อ 25 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
คณะกรรมการซึ่งได้รับเลือกตั้งตามวรรคก่อน อยู่ในตำแหน่งได้ตามวาระของคณะกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งไป
ข้อ 20. องค์ประชุมในการประชุมของคณะกรรมการ การประชุมของคณะกรรมการจะต้องมีกรรมการประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะนับว่าเป็นองค์ประชุม
ข้อ 21. มติของที่ประชุมคณะกรรมการ ให้ถือเอาคะแนนเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งเสียงในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ผู้เป็นประธานในที่ประชุมมีคะแนนอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
ในกรณีที่ที่ประชุมคณะกรรมการลงมติอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายและหรือข้อบังคับนี้ให้ถือว่ามตินั้นใช้บังคับมิได้
ข้อ 22. ประธานในที่ประชุม ให้นายกสมาคมเป็นประธานในที่ประชุม ถ้านายกสมาคมไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้อุปนายกปฎิบัติหน้าที่แทน ถ้าทั้งนายกสมาคมและอุปนายกไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการผู้หนึ่งทำหน้าที่แทน
ข้อ 23. การเข้ารับหน้าที่ของคณะกรรมการ เมื่อมีการเลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ ให้คณะกรรมการซึ่งผลจากตำแหน่งยื่นจดทะเบียนคณะกรรมการชุดใหม่ต่อนายทะเบียนสมาคมการค้าประจำจังหวัดกรุงเทพมหานครภายในสามสิบวัน นับแต่วันเลือกตั้งและส่งมอบหน้าที่ให้คณะกรรมการชุดใหม่ภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่นายทะเบียนสมาคมการค้าฯ รับจดทะเบียน
ในกรณีที่นายทะเบียนสมาคมการค้า ยังมิได้รับจดทะเบียนคณะกรรมการชุดใหม่ และคณะกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งยังมิได้ส่งมอบหน้าที่ตามวรรคแรก ให้คณะกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งนั้นมีอำนาจหน้าที่บริหารกิจการของสมาคมต่อไปจนกว่านายทะเบียนสมาคมการค้าฯ จะรับจดทะเบียนคณะกรรมการชุดใหม่และคณะกรรมการชุดใหม่นั้นเข้ารับหน้าที่แล้ว
ข้อ 24. อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการ มีดังนี้
ข้อ 25. อำนาจหน้าที่กรรมการตำแหน่งต่าง ๆ มีดังนี้
ข้อ 26. ภายใต้บังคับแห่งความในหมวดนี้ ให้นำความในหมวดที่ 7 การประชุมใหญ่มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมวดที่ 7
การประชุมใหญ่
ข้อ 27. การประชุมใหญ่ ให้คณะกรรมการจัดให้มีการประชุมใหญ่สมาชิกอย่างน้อยทุกระยะสิบสองเดือน การประชุมเช่นนี้เรียกว่าการประชุมใหญ่สามัญ
การประชุมใหญ่คราวอื่นนอกจากการประชุมใหญ่ตามวรรคก่อนเรียกว่าการประชุมใหญ่วิสามัญ
ข้อ 28. กำหนดการประชุมใหญ่
ข้อ 29. การส่งหนังสือบอกกล่าวนัดประชุม คณะกรรมการจะต้องส่งหนังสือบอกกล่าวถึงวันเวลา สถานที่ และระเบียบวาระการประชุมใหญ่ไปให้สมาชิกทุกคนได้ทราบโดยส่งจดหมายทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ณ ที่อยู่ของสมาชิกที่ปรากฏอยู่ในทะเบียน หรือส่งให้ถึงตัวสมาชิกก่อนกำหนดวันประชุมใหญ่ไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน
การจัดส่งหนังสือบอกกล่าวตามวรรคแรก ให้ส่งสำเนาบันทึกรายงานการประชุมใหญ่ครั้งที่แล้ว (ถ้ามี) ไปด้วย ในกรณีที่เป็นการนัดประชุมใหญ่สามัญประจำปีจะต้องแนบสำเนารายงานประจำปีและสำเนางบดุลรวมทั้งสำเนาบัญชีรายรับ-รายจ่าย ซึ่งผู้สอบบัญชีได้ตรวจสอบแล้วเพิ่มเติมไปด้วย
ข้อ 30. องค์ประชุมในการประชุมใหญ่ ในการประชุมใหญ่จะต้องมีสมาชิกสามัญหรือผู้แทนหรือตัวแทนมาประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสามัญทั้งหมดจึงจะถือเป็นองค์ประชุม
ข้อ 31. กรณีที่การประชุมในครั้งแรกสมาชิกมาไม่ครบองค์ประชุม หากล่วงพ้นกำหนดเวลานัดไปแล้วหนึ่งชั่วโมง ยังมีสมาชิกมาไม่ครบองค์ประชุม ถ้าการประชุมใหญ่คราวนั้นได้เรียกนัดเพราะสมาชิกร้องขอ ให้เลิกการประชุมใหญ่นั้น ถ้ามิใช่เพราะสมาชิกร้องขอให้เลื่อนการประชุมและให้ทำการบอกกล่าวนัดประชุม วัน เวลา และสถานที่ประชุมใหญ่นี้อีกครั้งหนึ่ง ภายในกำหนดเวลาสิบห้าวันนับแต่วันประชุมใหญ่คราวแรก ในการประชุมใหญ่คราวหลังนี้จะมีสมาชิกมามากน้อยเพียงใดก็ให้ถือว่าเป็นองค์ประชุม
ข้อ 32. ประธานในที่ประชุม ให้นายกสมาคมเป็นประธานในที่ประชุมใหญ่ ถ้านายกสมาคมไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้อุปนายกผู้มีอาวุโสตามลำดับทำหน้าที่แทน ถ้าทั้งนายกสมาคมและอุปนายกไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้ที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งกรรมการคนหนึ่งคนใดขึ้นเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าไม่มีกรรมการอยู่ในที่ประชุมเลยก็ให้ที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งสมาชิกคนหนึ่งคนคนใดขึ้นเป็นประธานในที่ประชุมเฉพาะการประชุมคราวนั้น
ข้อ 33. วิธีออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมใหญ่ สมาชิกสามัญหรือผู้แทน หรือตัวแทนเท่านั้นมีสิทธิ์ออกเสียงลงคะแนน และสมาชิกสามัญหรือผู้แทนหรือตัวแทนคนหนึ่ง ๆ มีคะแนนเสียงหนึ่งเสียงตลอดเวลาไม่ว่าจะตั้งผู้แทนหรือตัวแทนกี่คนก็ตาม
ในการประชุมใหญ่ใด ๆ ข้อมติอันเสนอให้ลงคะแนน ให้ตัดสินด้วยวิธีชูมือ หรือวิธีการอื่นใดอันเป็นการเปิดเผยว่าสมาชิกใดลงคะแนนเช่นไร เว้นแต่เมื่อก่อนหรือในเวลาที่แสดงผลแห่งการชูมือนั้น คณะกรรมการเห็นสมควรหรือมีสมาชิกสามัญสองคนเป็นอย่างน้อยติดใจร้องขอให้ลงคะแนนลับ
ข้อ 34. มติของที่ประชุมใหญ่ นอกจากที่กล่าวไว้เป็นอย่างอื่นในข้อบังคับนี้ ให้ถือเอาคะแนนเสียงข้างมากเป็นมติของที่ประชุมใหญ่ ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันจะเป็นการชูมือก็ดี การลงคะแนนลับก็ดี หรือด้วยวิธีการอื่นใดก็ดี ให้ผู้เป็นประธานประชุมมีคะแนนอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
ข้อ 35. กิจการอันพึงกระทำในการประชุมใหญ่ มีดังนี้
ข้อ 36. การจัดทำรายงาน บันทึกประชุม รายงานการประชุมคณะกรรมการ การประชุมใหญ่ การประชุมสมาชิกอื่น ๆ และการประชุมอนุกรรมการ ให้จดบันทึกไว้ทุกครั้ง และต้องเสนอต่อที่ประชุมเพื่อรับรองในคราวที่มีการประชุมครั้งต่อไป รายงานการประชุมที่ผ่านการรับรองแล้วสมาชิกจะดูได้ในวันและเวลาทำการ
หมวดที่ 8
การเงิน เงินทุนพิเศษ
และการบัญชีของสมาคม
ข้อ 37. วันสิ้นปีทางบัญชี ให้ถือเอาวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันสิ้นปีทางบัญชีของสมาคมการค้า
ข้อ 38. การจัดทำงบดุล ให้คณะกรรมการจัดทำงบดุลที่เป็นอยู่ ณ วันสิ้นปีทางบัญชีนั้นแล้วส่งให้ผู้สอบบัญชีไม่เกินเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี และผู้สอบบัญชีจะต้องตรวจสอบให้แล้วเสร็จก่อนวันประชุมใหญ่ประจำปีไม่น้อยกว่าสามสิบวัน
งบดุลซึ่งผู้สอบบัญชีได้รับรองแล้ว คณะกรรมการต้องดำเนินการเสนอต่อที่ประชุมใหญ่สามัญเพื่อพิจารณาอนุมัติภายใน 120 วันนับแต่วันสิ้นปีทางบัญชี
เมื่อเสนองบดุล ให้คณะกรรมการเสนอรายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงานของสมาคมต่อที่ประชุมใหญ่ด้วย
ให้สมาคมส่งสำเนารายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงานของสมาคมกับงบดุลไปยังนายทะเบียนสมาคมการค้าประจำจังหวัดกรุงเทพมหานคร ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการประชุมใหญ่
อนึ่ง ให้เก็บรักษารายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงานของสมาคมกับงบดุลไว้ที่สำนักงานของสมาคม เพื่อให้สมาชิกขอตรวจดูได้
ข้อ 39. อำนาจของผู้สอบบัญชี ผู้สอบบัญชีมีอำนาจเข้าตรวจสอบสรรพสมุดบัญชีและบรรดาเอกสารเกี่ยวกับการเงินของสมาคมและมีสิทธิสอบถามกรรมการตลอดจนเจ้าหน้าที่ของสมาคมทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบัญชีและเอกสารดังกล่าว ในการนี้กรรมการและเจ้าหน้าที่จะต้องช่วยเหลือและให้ความสะดวกทุกประการเพื่อการตรวจสอบเช่นว่านั้น
ข้อ 40. การเก็บรักษาสมุดบัญชีและเอกสารการเงิน จะต้องเก็บรักษาไว้ ณ สำนักงานของสมาคมและให้อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของเหรัญญิก
ข้อ 41. การเงินของสมาคม รายได้ของสมาคมจะต้องนำฝากไว้ ณ ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยแห่งใดแห่งหนึ่ง ในนามของสมาคมโดยความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการ
ให้มีเงินทดลองจ่ายเกี่ยวกับกิจการของสมาคมไม่เกินวงเงิน 30,000 บาท (สามหมื่นบาทถ้วน) โดยกำหนดให้เหรัญญิกเป็นผู้รับผิดชอบและเก็บรักษาตัวเงิน
การถอนเงินจากธนาคาร ให้อยู่ในอำนาจของนายกสมาคม โดยกำหนดให้นายกสมาคมลงนามร่วมกับเหรัญญิก
ข้อ 42. การจ่ายเงินของสมาคม ให้นายกสมาคมมีอำนาจสั่งจ่ายเงินเกี่ยวกับกิจการของสมาคม โดยกำหนดให้นายกสมาคมลงนามร่วมกับเหรัญญิก
ข้อ 43. เงินทุนพิเศษ สมาคมอาจหาเงินทุนพิเศษเพื่อมาดำเนินกิจการและส่งเสริมความก้าวหน้าของสมาคมได้ โดยการเชื้อเชิญบุคคลภายนอกและสมาชิกร่วมการบริจาคหรือกระทำการอื่นใดตามที่คณะกรรมการเห็นสมควรและไม่ขัดต่อกฎหมาย
หมวดที่ 9
การแก้ไขข้อบังคับ การเลิกสมาคม
และการชำระบัญชี
ข้อ 44. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงตัดทอนหรือเพิ่มเติมข้อบังคับ จะกระทำได้โดยมติของที่ประชุมใหญ่ ซึ่งมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกสามัญที่มาประชุมทั้งหมด
ข้อ 45. การเลิกสมาคม
ข้อ 46. การชำระบัญชี เมื่อสมาคมนี้ต้องเลิกไปเพราะเหตุหนึ่งเหตุใดดังกล่าวในข้อ 45 การชำระบัญชีของสมาคมให้นำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติสมาคมการค้าพ.ศ. 2509 มาใช้บังคับ
ในกรณีที่สมาคมต้องเลิกไปตามข้อ 45 (1) ให้ที่ประชุมใหญ่คราวนั้นลงมติเลือกตั้งกำหนดตัวผู้ชำระบัญชีเสียด้วย และหากต้องเลิกไปตามข้อ 45 (3) ให้กรรมการทุกคนในคณะกรรมการชุดสุดท้ายที่ได้จดทะเบียนเป็นกรรมการต่อนายทะเบียนสมาคมการค้าประจำจังหวัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้ชำระบัญชี
หมวดที่ 10
บทเฉพาะกาล
ข้อ 47. เมื่อนายทะเบียนสมาคมการค้าประจำจังหวัดกรุงเทพมหานครได้อนุญาตให้จัดตั้งเป็นสมาคมแล้ว ให้ผู้เริ่มก่อการจัดตั้งทุกคนทำหน้าที่คณะกรรมการ (ชั่วคราว) จนกว่าจะได้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการตามข้อบังคับนี้ ซึ่งจะต้องจัดให้มีขึ้นภายในกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเป็นสมาคมแล้ว
ภายใต้บังคับแห่งความในวรรคแรก กรณีที่มีการประชุมใหญ่เลือกตั้งคณะกรรมการชุดแรกในช่วงเวลาน้อยกว่าสามเดือน นับแต่วันสิ้นปีทางบัญชีของสมาคม ให้ถือเอาวันสิ้นปีทางบัญชีของสมาคมเป็นวันตั้งต้นคำนวณวาระกรรมการตามข้อ 17 วรรคสี่
ข้อ 48. เพื่อประโยชน์แห่งความในข้อบังคับข้อ 7 ให้ผู้เริ่มก่อการจัดตั้งทุกคนทำหน้าที่เป็นสมาชิกสามัญ
ข้อ 49. ให้ใช้ข้อบังคับนี้ ตั้งแต่วันที่นายทะเบียนสมาคมการค้าประจำจังหวัดกรุงเทพมหานคร ได้อนุญาตให้จัดตั้งเป็นสมาคมเป็นต้นไป